Cytokinins
ชลิดา ทิวสระแก้ว เลขที่ 35 ม.6/2
ข้อมูลพื้นฐาน
ไซโทไคนิน เป็นฮอร์โมนพืชที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช นักวิทยาศาสตร์ยุคแรกพบว่า น้ำมะพร้าวมีสารที่สามารถกระตุ้นให้เซลล์พืชในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถแบ่งเซลล์เพิ่มเติมได้ ต่อมามีการสกัดไซโทไคนินออกมาได้ครั้งแรกจากข้าวโพด (Zea mays) และเรียกฮอร์โมนนี้ว่า zeatin ซึ่งพบได้มากที่สุดในธรรมชาติ
ปัจจุบันมีการพบฮอร์โมนกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก มีโครงสร้างคล้ายเบสอะดีนีน (adenine)
โครงสร้างทางเคมี
Zeatin จากข้าวโพด
Kinetin จากน้ำมะพร้าว
แหล่งที่พบ
แหล่งสร้างหลัก :
เนื้อเยื่อเจริญปลายราก
แหล่งที่พบอื่น ๆ :
ใบอ่อน
เอ็มบริโอ
ตาข้าง
ปลายช่อดอกอ่อน
ผล
การลำเลียง
บริเวณปลายรากเป็นส่วนสำคัญในการส่งไซโตไคนินไปยังแหล่งต่างๆ จนถึงปลายยอดผ่าน xylem
การนำไปใช้ประโยชน์
กระตุ้นการแบ่งเซลล์
ส่งเสริมการเกิดตาข้างและการแก้การข่มการเกิดตายอด
การงอกของเมล็ดและ
การขยายขนาดของเซลล์
อ้างอิง: ดร. ศุภณัฐ ไพโรหกุล. (2562). Biology ชีววิทยา. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์
ชะลอการชราภพของอวัยวะพืชบางส่วน
เกษตรกรนำมาใช้ยืดอายุใบ ดอก ที่ตัดออกมา